วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

            แบไต๋ไฮเทค เจาะ iphone5  

 พัฒนากล้อง 3 มิติเชิงลึก ที่เจ๋งกว่า Kinect  

 News Alert แชตเห็นสิวระดับ HD ผ่าน Google Hangouts

บทความ

Panasonic โชว์กล้องพาโนรามาแบบสุดๆ ถ่ายทีเดียวเห็นภาพจากซ้ายไปขวา

การถ่ายภาพกว้างหรือที่ทุกคนรู้จักในชื่อ พาโนรามา ซึ่งโหมดถ่ายภาพนี้จะถูกใส่มาในกล้องรุ่นใหม่ๆอยู่แล้ว
1
ทาง Panasonic คิดว่ามันกว้างไม่พอ จึงพัฒนากล้องใหม่รุ่น AW-HE120 ที่มีอัตราส่วนของภาพสูงถึง 64:9    การทำงานของกล้องตัวนี้จะประกอบด้วยกล้อง AW-HE120 จำนวน 4 ตัว  โดยกล้องแต่ละตัวก็จะบันทึกภาพในองศาของตัวเอง ตัวละ 40 องศา ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว จะมีมุมมองภาพตามแนวขวางอยู่ที่ 160 องศาและสามารถบันทึกภาพหรือวิดีโอได้ในระดับ HD 720p เมื่อถ่ายแล้วตัวกล้องแต่ละตัวจะนำภาพมาเรนเดอร์รวมกันเป็นภาพหรือวิดีโอขนาดสมบูรณ์  กล้องตัวนี้มีขนาดใหญ่มากจึงไม่เหมาะกับการใช้งานทั่วไป แต่ถูกออกแบบมาให้ใช้ในงานอีเวนต์ต่างๆ หรือจะใช้บันทึกการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาในสนาม
ถึงโลกนี้จะมีวิธีการยืนยันตัวตนมากมาย ทั้งสแกนลายนิ้วมือ ตรวจม่านตา เทียบเสียง แต่ด้วยความต้องการรักษาความปลอดภัยที่ยืดหยุ่นขึ้นเรื่อยๆ ก็จึงมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ขึ้นเรื่อยๆ
งานวิจัยล่าสุดจาก Fujitsu ได้พัฒนาให้ใช้ฝ่ามือในการยืนยันตัวตน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น (เปลี่ยนจากกดนิ้วเพื่อสแกนลายนิ้วมือ ที่หลายคนนิ้วจางๆ ก็สแกนไม่ผ่านสักที มาสแกนทั้งฝ่ามือแทน)    แต่การสแกนฝ่ามือของ Fujitsu นั้นไม่ได้ค้นหาเส้นลายมือไปสร้างเป็นข้อมูลยืนยันตัวตน แต่จะใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อตรวจหาเส้นเลือดในฝ่ามือ แล้วจึงสร้างเป็นแผนที่เส้นเลือดดำเพื่อถอดเป็นรหัสเฉพาะตัวขนาด 2048 bit
เมื่อสแกนฝ่ามือจนได้รหัสแล้ว จะมีการเข้าสูตรอีกครั้งหนึ่งเพื่อสร้างเป็นรหัสใหม่ที่ไม่สามารถย้อนกลับไปหารหัสเริ่มต้นที่ได้จากการสแกนฝ่ามือ จึงสามารถใช้การสแกนฝ่ามือกับงานหลายๆ แบบได้ โดยที่ข้อมูลตั้งต้นไม่รั่วไหล    เช่น สแกนเข้าบริษัทก็ใช้ข้อมูลจากฝ่ามือ ผ่านวิธีการ A เพื่อได้โค้ด A มาเปิดประตู ส่วนถ้าสแกนเปิดตู้เซฟก็ใช้ข้อมูลจากฝ่ามือ   ผ่านวิธีการ B จนได้โค้ด B มาเปิดตู้ ถ้าแฮกเกอร์สามารถเข้าถึงโค้ด B ได้ ก็จะได้แค่เปิดตู้เซฟ แต่ไม่สามารถย้อนกลับไปหาโค้ดตั้งต้นจากฝ่ามือ เพื่อไปสร้างเป็นโค้ด A หรือโค้ดอื่นๆ ได้
ซึ่งนักวิจัยจาก Fujitsu บอกว่าวิธีการนี้มีโอกาสผิดพลาดแค่ 1 ใน 100,000 เท่านั้น และคาดว่าจะเริ่มใช้ได้จริงในปี 2015